สถานการณ์ไตวายเฉียบพลันจากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงสุด คือมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังถึง 11.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องล้างไต ซึ่งการป้องกันโรคไตสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการลดบริโภคโซเดียม และเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้
ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตทุกวันนี้คนไทยบริโภคโซเดียมมากถึง 3,635 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือประมาณ 2 ช้อนชา สูงกว่าปริมาณที่แนะนำเกือบ 2 เท่า โซเดียมในอาหาร 90% มาจากเครื่องปรุงรสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซุปก้อน เกลือ กะปิ และผงชูรส รวมถึงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ก็ล้วนแต่มีโซเดียมสูงเช่นกัน
อาการหรือโรคไตวาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1. ไตวายเฉียบพลัน คือภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง เป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงตั้งแต่เริ่มแรกทั้งๆ ที่ไตยังไม่เสื่อม เช่น ผู้ป่วยจะมีอาการบวม ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ตรวจปัสสาวะพบเม็ดโลหิตแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาด้วย และมีความดันโลหิตสูงผิดปกติ แม้ภาวะไตวายเฉียบพลันจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้
2. ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่ไตเริ่มค่อยๆ สูญเสียการทำงานทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการทำงานของไตลดลง ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของความเสื่อม คือ การเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคไตที่เกิดจากเก๊าท์ เป็นต้น ข้อสังเกตคือ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น ถ้าหากมาตรวจร่างกาย แพทย์จะไม่พบความผิดปกติใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีถ้าตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย หากไม่ได้รับการรักษาอาการก็จะค่อยๆ ลุกลาม จนในที่สุดการทำงานของไตจะเหลือเพียงร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของปกติ ถึงตอนนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการโรคไตแสดงออกมาให้เห็นบ้าง และถ้าการทำงานของไตเสื่อมลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ของปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาชัดเจนทุกราย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักตรวจพบโรคเมื่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงไปมาก และนำไปสู่ภาวะไตวายที่ไม่สามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานเป็นปกติได้อีกต่อไป
1. มีอาการบวมน้ำหรือขาดน้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
3. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือมีสีผิดปกติ
4. เหนื่อยง่าย รู้สึกหวิวๆ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
5. กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน
6. น้ำท่วมปอด
7. มีภาวะซีด เลือดจาง
ข้อสังเกต : อาการเหล่านี้เกิดภายในชั่วโมง วัน หรือสัปดาห์ ถ้ารักษาทันเวลาไตจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้
1. เพลีย เหนื่อยหอบ
2. ปัสสาวะน้อยมาก
3. อาการบวม กดบุ๋มลง
4. คันตามตัว
5. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
6. หมดสติ เสียชีวิต
ข้อสังเกต : ไตเริ่มสูญเสียการทำงานทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลักเดือนหรือปี ไม่สามารถรักษาให้ไตกลับมาเป็นปกติได้
1. ตรวจปัสสาวะ ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปัสสาวะจะมีโปรตีนและเม็ดเลือดแดงปนมากับปัสสาวะ
2. ตรวจเลือด ถ้ามีภาวะผิดปกติของไต ปริมาณไนโตรเจน กรดยูริก (Blood Nitrogen Urea, BUN) และครีเอตินิน (Creatinine, Cr) ที่เป็นของเสียจากกล้ามเนื้อจะตกค้างในเลือดสูงกว่าปกติ แพทย์จะนำผลเลือดที่ได้นี้มาใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ในลำดับต่อไป
3. การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ถ้ามีความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนร่วมกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ
การตรวจคัดกรองการเกิดโรคไตเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรคที่ดีที่สุด หากพบความเสี่ยงของการเกิดโรคตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค จะได้รีบป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงลง หากพบว่าเป็นโรคไตแล้ว การรักษาตั้งแต่แรกสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว และการชะลอความเสื่อมของไตตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรค จะช่วยป้องกันหรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค และความจำเป็นในการบำบัดทดแทนไตได้
โรคไตเรื้อรังเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย จึงควรได้รับการตรวจในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ดังนี้
สำหรับกลุ่มเสี่ยง แพทย์แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตและพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคไต ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตได้ เพราะยิ่งรู้ทันโรคและรีบรักษาตั้งแต่เป็นในระยะแรกๆ ก็มีโอกาสที่ไตจะกลับมาทำงานเป็นปกติได้
บทความโดย : นพ.สมนึก ดำรงกิจชัยพร แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมโรคไต ศูนย์อายุรกรรมโรคไต รพ.พญาไท 1
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ไตวายเรื้อรังกับไตวายเฉียบพลัน แตกต่างกันอย่างไร
ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath
2023-03-17T07:11:12Z dg43tfdfdgfd