คลื่นความร้อน HEATWAVE คืออะไร ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างไรบ้าง

ฮีตเวฟ หรือปรากฏการณ์คลื่นความร้อน (Heatwave) ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2566 นี้ ในหลายประเทศได้รับผลกระทบ จนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตมนุษย์ และสัตว์ท้องถิ่น บางทฤษฎีกล่าวว่าฮีตเวฟเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากมนุษย์ ทั้งจากการใช้ทรัพยากรบนแผ่นเปลือกโลก และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยสารเคมีสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้ความร้อนเข้ามาสะสม

คลื่นความร้อน เกิดจากอะไร

คลื่นความร้อน (Heatwave) เกิดจากสาเหตุ 2 ประเภท จึงแบ่งการเกิดฮีตเวฟเป็น 2 แบบ ดังนี้ 

  1. คลื่นความร้อนที่เกิดจากการสะสมความร้อน : เป็นคลื่นความร้อนที่เกิดจากการสะสมความร้อนในพื้นที่ ไม่มีลมพัด อากาศแห้ง ไอร้อนสะสมจนเป็นคลื่นความร้อน
  2. คลื่นความร้อนที่เกิดจากการพัดพาความร้อน : เป็นคลื่นความร้อนที่เกิดจากลมที่หอบความร้อนมาจากพื้นที่อื่นขึ้นไปยังเขตหนาว เช่น ที่เกิดในยุโรป และแถบเมดิเตอร์เรเนียน

ปัญหาภัยพิบัติคลื่นความร้อน มองดูไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คลื่นความร้อนประเทศไทย ส่งให้อุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน และมีผู้เสียชีวิตจากการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ดังนั้นการปรับตัวกับฮีตเวฟจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะดูแลสุขภาพตัวเองและคนรอบข้าง มีคนดังที่เสียชีวิตในฤดูร้อนเดือนมีนาคม 2566 คือ เอ๋-ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นักการเมือง จ.สมุทรปราการ 

ฮีตเวฟ เป็นผลกระทบทั่วโลก นอกจากเรื่องสุขภาพแล้วยังเป็นแรงบันดาลใจให้คนทำเพลง Glass Animals แต่งเพลงแนวอาร์แอนด์บี ชื่อว่า Heat Waves เล่าถึงความรักที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อนผิดแผกไปจากเดิม เข้าชิงรางวัลบริตอะวอสด์ สาขาเพลงยอดเยี่ยม ได้รับความนิยมกว่า 500 ล้านวิว ในปี 2020

คลื่นความร้อน 2566 

คลื่นความร้อน 2566 ส่งผลในหลายพื้นที่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในอินเดียและบังกลาเทศ ที่พบผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเนื่องจากอากาศร้อน มีระบุว่า เมืองธากา ประเทศอินเดีย มีอุณหภูมิสูงสุด 40.6 องศาเซลเซียส ณ วันที่ 15 เมษายน 2566

คลื่นความร้อนประเทศไทย ส่งผลให้วัดอุณหภูมิสูงสุดได้ 45.4 องศาเซลเซียส ณ วันที่ 18 เมษายน 2566 ที่จังหวัดตาก กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูร้อนของบ้านเราเริ่มวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2566 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 โดยพิจารณาจากลมที่พัดผ่านประเทศไทย 

ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว วัดอุณหภูมิสูงสุดได้ 42.9 องศาเซลเซียส ณ วันที่ 19 เมษายน 2566 ที่แขวงไชยบุรี, 41.4 องศาเซลเซียส ที่เวียงจันทน์ และในวันที่15 เมษายน 2566 วัดได้ 42.7 องศาเซลเซียส ที่หลวงพระบาง

Heat Index หรือ ตารางดัชนีความร้อน (เทียบอุณหภูมิความร้อน กับความชื้น) ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตของมนุษย์

ภาพที่ 1 : อุณหภูมิเฉลี่ย 4 วัน ในอินเดียและบังกลาเทศ พบว่าอากาศแห้ง และมีลักษณะภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งเป็นเงาฝน ตามแนวทิศตะวันตกของอินเดีย เกิดจากการสะสมความชื้นและความร้อนที่สูง

ภาพที่ 2 : แผนที่จำแนกอุณหภูมิกับระดับความร้อนที่กระทบต่อการดำรงชีวิต พบว่าหลายพื้นที่ของอินเดียอยู่ในระดับอันตราย

ภาพที่ 3 : อุณหภูมิเฉลี่ย 4 วัน ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน 2566 แสดงให้เห็นถึงความร้อนที่สูงระหว่าง 40-41 องศาเซลเซียส

ภาพที่ 4 : แผนที่จำแนกอุณหภูมิกับระดับความร้อนที่กระทบต่อการดำรงชีวิต พบว่าคลื่นความร้อนปกคลุมประเทศไทยในระดับอันตราย ในช่วงวันที่ 18-21 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา

คลื่นความร้อน 2566 ส่งผลอย่างไรบ้าง

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน 2566 ในหลายประเทศทั่วโลกก็สัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และเร่งให้เกิดความผิดเพี้ยนในระบบนิเวศ คนที่มีโรคประจำตัวก็เร่งให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ผู้ที่อยู่ท่ามกลางความร้อนก็เป็นอันตรายได้จากโรคเพลียแดด และยังมีผลกระทบอื่นๆ ดังนี้

คลื่นความร้อน สาเหตุ และวิธีป้องกัน

  • คาดว่าประเทศอินเดีย ไทย ลาว จะมีอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1.2 องศาเซลเซียส
  • คาดการณ์ว่าอนาคต ค่าดัชนีความร้อนในช่วงฤดูร้อนจะอยู่ระหว่าง 41-54 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในระดับอันตราย และอันตรายมาก ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
  • ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งจะได้รับผลกระทบเรื่องค่าแรง เนื่องจากช่วงเวลากลางวันจะต้องหลบในที่ร่ม ไม่สามารถทำงานได้ อนาคตนายจ้างควรหาวิธียืดหยุ่นในการทำงานของแรงงานลูกจ้างรายวันกลุ่มนี้
  • มีข้อมูลคลื่นความร้อนไม่มาก จึงไม่สามารถประเมินได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นระดับใด
  • คลื่นความร้อนไม่ได้แก้ปัญหาได้ในประเทศเดียว สาเหตุเกิดจากมนุษย์ใช้ทรัพยากรต่างๆ ทำให้แผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นจะต้องร่วมมือกันแก้ไขเป็นวงกว้าง
  • อุณหภูมิบนทวีปอินเดียและเอเชียเปลี่ยนแปลงทุกๆ 200 ปี ในช่วงที่มีคลื่นความร้อนเกิดขึ้น ทางภาครัฐควรติดตามอุณหภูมิและประกาศแจ้งเตือนให้แก่ประชาชนได้พร้อมรับมือ  

คลื่นความร้อน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างไรบ้าง

เมื่อมนุษย์อยู่ท่ามกลางความร้อนเป็นระยะเวลานานๆ มีโอกาสเกิดลมแดด หน้ามืด เพราะฉะนั้นหากมีปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัว ในวันที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ ควรหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมนอกอาคาร 

อาการที่มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่อุณหภูมิสูงจากคลื่นความร้อน มีดังนี้

  • ความดันต่ำ
  • หน้ามืด
  • ฮีตสโตรก (Heat Stroke)
  • ช็อก
  • ร่างกายขาดน้ำ
  • โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion)

แม้ว่าร่างกายของคนเราจะปรับตัวได้กับสภาพอากาศได้ แต่หากร้อนเป็นเวลานานๆ การออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมในกลางแจ้ง ก็ควรงด ในช่วงที่อากาศร้อนจากคลื่นความร้อนอย่างรวดเร็ว บางคนก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังมีอาการเพลียแดด การดื่มน้ำทีละน้อยพอช่วยได้บ้าง แต่การหลบแสงแดดอยู่ในที่ร่ม และติดตามอุณหภูมิอากาศก่อนทำกิจกรรมนอกบ้านก็เป็นเรื่องจำเป็นในฤดูร้อนนี้. 

ที่มา : 

  • คลื่นความร้อน (Heat Wave)., (2015), บุศราศิริ ธนะ.,earthscience.ipst.ac.th [วันที่สืบค้น 23 พ.ค. 66]
  • คลื่นความร้อน อุณหภูมิละลายโลก (2020)., กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโลก.,  https://greendigitallibrary.deqp.go.th/news/detail/119 [วันที่สืบค้น 23 พ.ค. 66]
  • การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2566., กรมอุตุนิยมวิทยา., tmd.go.th [วันที่สืบค้น 23 พ.ค. 66]
  • Extreme humid heat in South Asia in April 2023, largely driven by climate change, detrimental to vulnerable and disadvantaged communities., 17 MAY 2023., worldweatherattribution.org

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : คลื่นความร้อน Heatwave คืออะไร ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างไรบ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่

- Website : www.thairath.co.th

- LINE Official : Thairath

2023-05-24T06:42:38Z dg43tfdfdgfd